ประเด็นปัญหาการวิจัย
ประเด็นปัญหาการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน จากประสบการณ์การสอน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2554 จัดเรียงลำดับตามความสำคัญ 3 เรื่อง ดังนี้
ปัญหาที่ต้องการทำวิจัย
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อ่านออกเสียงคำที่มีตัวสะกดมาตราแม่ กง กน กม เกย เกอว กก กด กบ ไม่ได้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
สภาพปัญหา
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 19 คน ไม่สามามารถอ่านออกเสียงคำที่มีตัวสะกดได้ตรงตามมาตราตัวสะกดแม่ กง กน กม เกย เกอว กก กด กบ
กำหนดนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหา
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด จำนวน 8 ชุด
ชุดที่ 1 เรื่อง มาตราตัวสะกดแม่ กง
ชุดที่ 2 เรื่อง มาตราตัวสะกดแม่ กน
ชุดที่ 3 เรื่อง มาตราตัวสะกดแม่ กม
ชุดที่ 4 เรื่อง มาตราตัวสะกดแม่ เกย
ชุดที่ 5 เรื่อง มาตราตัวสะกดแม่ เกอว
ชุดที่ 6 เรื่อง มาตราตัวสะกดแม่ กก
ชุดที่ 7 เรื่อง มาตราตัวสะกดแม่ กด
ชุดที่ 8 เรื่อง มาตราตัวสะกดแม่ กบ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ตอบลบผู้ศึกษาค้นคว้า เรไร ปลัดกอง
ปีการศึกษา 2554
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาดัชนีประสิทธิผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 ในโรงเรียนชุมชนหนองแปนหินโงมวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดธานี เขต 4 จำนวน 1 ห้อง มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการสอนด้วยตนเอง ใช้เวลาทดลองสอนสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง รวม 18 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.53/84.91 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7108 หรือร้อยละ 71.08
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.68
โดยสรุปการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สามารถนำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้นักเรียน เกิดความสนใจในการเรียนและช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น จึงควรสนับสนุนให้นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและเผยแพร่ต่อไป